1. หน้าแรก
  2. เกี่ยวกับเรา
  3. ประวัติสถาบันโรคผิวหนัง
ประวัติสถาบันโรคผิวหนัง
10/09/2020
12612

               สถาบันโรคผิวหนัง ได้จัดตั้งขึ้นด้วยการริเริ่มของชมรมแพทย์ผิวหนัง แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.2508
ซึ่งมี นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ เป็นประธาน ได้เห็นความความสำคัญในการมีสถาบันเฉพาะทาง เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา วิจัยโรคผิวหนังเมืองร้อนในเขตอาคเนย์ จึงได้ดำเนินการประสานงาน โดยเสนอความคิดเห็นต่อนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย

               ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบด้วยในหลักการ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2511 และได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเรื่องงบประมาณ และแบบแปลน โดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ส่วนคณะอนุกรรมการเตรียมการจัดสร้างอาคาร มีอธิบดีกรมการแพทย์เป็นประธาน และมี แพทย์หญิงเรณู โคตรจรัส ซึ่งเป็นแพทย์ผิวหนังโรงพยาบาลราชวิถีในขณะนั้นเป็นเลขานุการจัดตั้งงบประมาณและอัตรากำลัง สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณ ปี พ.ศ. 2513 ให้เป็นจำนวนเงิน 5,703,200 บาท

               ต่อมาทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบด้วยในหลักการ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2513 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นผู้วางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคาร และเปิด ดำเนินการบริการตรวจผู้ป่วย ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2515 ในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีแพทย์หญิงเรณู โคตรจรัส แพทย์ผิวหนังผู้ร่วมก่อตั้ง สถาบันโรคผิวหนังเป็นผู้อำนวยการคนแรก

               ในปี 2515 ซึ่งเป็นปีแรกของการเปิดทำการ มีผู้ป่วยมีจำนวนผู้ป่วยจำนวน 5,652 คน ในปีต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 21,527 คน ในแต่ละปีผู้ป่วยเพิ่มขี้นเรื่อย จนปีปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) สถาบันโรคผิวหนังมีผู้มารับบริการประมาณ 180,000 คน

               ในปี 2558 การเปลี่ยนแปลงสำคัญ สถาบันโรคผิวหนังได้รับงบประมาณ ในการก่อสร้างอาคารใหม่ เพื่อทดแทนอาคารเดิม ซึ่งมีอายุการใช้งานนานมากกว่า 43 ปี ไม่สามารถรองรับการให้บริการผู้ป่วยปีละ 180,000 ราย


หน้าที่ของสถาบัน

สถาบันโรคผิวหนัง มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการทางการแพทย์ ด้านโรคผิวหนังโดยการศึกษาวิจัยถ่ายทอดความรู้พัฒนาบุคลากรเฉพาะทาง และบำบัดรักษาผู้ป่วยผิวหนังเพื่อให้สถานบริการสุขภาพมีบริการทางการแพทย์ ด้านโรคผิวหนังที่มีคุณภาพมาตรฐานผู้รับบริการพึงพอใจ

อำนาจหน้าที่ของสถาบันโรคผิวหนัง

ตามกฏกระทรวง แบ่งส่วนราชการ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 ข้อ 3 (17)
กำหนดให้สถาบันโรคผิวหนังมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านโรคผิวหนัง
  2. ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านโรคผิวหนังแก่สถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  3. จัดให้มีการบริการเพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยเฉพาะทางด้านโรคผิวหนัง ให้การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
    การแพทย์ด้านโรคผิวหนังแก่แพทย์และบุคลากรทางด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  4. กำกับและดูแลการดำเนินงานของศูนย์โรคผิวหนังในส่วนภูมิภาค
  5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า